วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วอลเลย์บอล

ประวัติวอลเลย์
                       กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิล เลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่ หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)     

  ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ( Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล"(Volleyball) โดยศาสตราจารย์อัลเฟรดให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมากปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้

  ปี พ . ศ . 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณพงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร . น . ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา จนกระทั่งปี พ . ศ . 2500 ได้มีการจัดตั้ง " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี



ความ มุ่งหมายของกีใวอลเลย์บอล

1.เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวอลเลย์บอล

2.มีความสามารถเบื่องต้นเกี่ยวกับวอลเลย์บอล

3.มีความสามารถในการเล่นทีม

4.มีความรู้ความเข้าใจในกติกา

5.ส่งเสริมการพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสังคม

6.ส่งเสริมมีการช่วยเหลือ

7.ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจเป็นนัก กีฬา

8.ก่อให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน

9.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                                               
                                      
        




















  


                                                                            สนามแข่งขัน

           สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาด 18 X 9 เมตร  ล้อมรอบด้วยเขตสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3.00 เมตร รอบด้าน ที่ว่างสำหรับผู้เล่นคือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูกซึ่งไม่มีสิ่งใดกีดขวางอย่างน้อยที่สุด  7.00 เมตร
            สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้อง
  กว้างอย่างน้อยที่สุด 5.00 เมตร จากเส้นข้าง  8.00 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร
  







                                                                                                          ตาข่าย

ตาข่าย net ทำด้วยวัตถุสีดำ ตาข่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 10ซม. ตาข่ายมีขนาดกว้าง 1ม.  ยาว 9.5 เมตร ที่ขอบบนตะข่ายมีแถบสีขาวกว้าง 5 ซม. เย็บติดตลอด ความยาวของตะข่าย และมีเชือกร้อยผ่าน ฉายร่างสุดของตะข่าย ความสูงของตะข่ายสำหรับชายสุง 2.43 เมตร และสำหรับหญิง 2.24 เมตร 




   ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายสู่การฝึกซ้อม
1.               การเคลื่อนที่  วิ่งเบาๆ (Jogging) การเคลื่อนที่ลักษณะต่าง ๆ (Footwork
2.               เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3.               เพิ่มเฉพาะส่วนที่ใช้ในการเล่น
4.               ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและความอ่อนตัว
5.               ความเร็วและพลัง พัฒนาความสามารถในการออกกำลังโดยไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic)
6.               ทักษะพื้นฐานกับลูกวอลเลย์บอล
7.               เข้าสู่การฝึกซ้อมหลักต่างๆ

ยกตัวอย่าง








 

      การอบอุ่นร่างกาย ก่อนและหลังการฝึก
การอบอุ่นร่างกายเป็นการเตรียมร่างกายสำหรับเกมกีฬาไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ซึ่งคนที่ไม่รู้อาจจะมองว่าการเตรียมตัวให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่นและเกิด การอบอุ่นนั้น เป็นเรื่องเหลวไหลไม่จำเป็นต้องใส่ใจอะไรมากมายนัก แต่แท้ที่จริงแล้วการเตรียมตัวให้ร่างกายพร้อมสรรพ สำหรับภาระอันหนักหน่วงในเกมกีฬาแต่ละชนิดนั้น มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับนักกีฬาแต่ละคน เพราะนั่นหมายถึงผลงานและชื่อเสียงที่จะตามมา การฝึกยืดและเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยให้เกิดการไหลเวียน ของโลหิตในกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีและจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความ อบอุ่น พลังความร้อนจากกล้ามเนื้อ จะช่วยให้เกิดอาการยืดหยุ่นในตัวของมันอีกทีหนึ่ง ผลจากการทำงานของกล้ามเนื้อลักษณะ นี้จะทำให้กล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้นและมีความคล่องแคล่วในตัว ขณะเดียวกันการทำงานของระบบข้อต่อ ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
การ ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อควรค่อย ๆ ทำ พยายามให้เวลาแก่กล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ เพื่อปรับตัวรับสภาวะการยืดหยุ่น ระยะแรก ๆ ควรจะฝึกท่าต่าง ๆ ในช่วงเวลา 10 - 15 วินาที พอฝึกฝนได้สัก10 -14 วัน แล้วจึงยืดเวลาในแต่ละท่าออกเป็น 20 - 30 วินาที การฝึกซ้อมแต่ละท่าควรทำซ้ำ ๆ กันสัก 2 - 3 ครั้ง ในขณะที่เริ่มฝึกเหยียดหรือยืดนั้น ทำตัวสบาย ๆ ตั้งสมาธิให้แน่วแน่ สูดลมหายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอและเป็นจังหวะ ข้อแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติควบคู่
ขณะฝึกซ้อม คือ ให้ฝึกการนับเป็นจังหวะจับเวลา 10 วินาทีหรือนับหนึ่งถึงสิบช้า ๆ
ข้อ สำคัญสำหรับการฝึก คือ อย่าได้เลือกทำเฉพาะท่าปฏิบัติที่ชอบหรือถนัดเท่านั้น เพราะในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนั้น นักกีฬาจะต้องใช้กล้ามเนื้อในร่างกายทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น
บริเวณหลัง , สะโพก , ขา แขนหรือมือ เป็นต้น นักกีฬาต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน
ดังนั้น อย่าฝึกแต่แขน อย่าฝึกเพียงท่าสองท่า แล้วเลิกเพราะผลที่จะตามมาไม่คุ้มค่ากัน
การฝึกยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ ก่อนการฝึกซ้อมประจำวันหรือก่อนการแข่งขัน ควรใช้เวลา
ใน การฝึกประมาณ 15 - 20 นาทีก็พอ แต่ก่อนอื่นก็ควรจะเล่นการบริหารเอาเหงื่อก่อนสัก 5 - 10 นาที สำหรับการฝึกคลายกล้ามเนื้อ หลังการฝึกซ้อมหรือหลังการแข่งขัน ควรทำทันทีโดยใช้เวลา
ประมาณ 20 - 30 นาที โดยเริ่มจากท่ายืนเคลื่อนไหวเบา ๆ จนถึงท่านั่งและนอน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้กลับสู่ภาวะปกติ สำหรับท่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในการฝึกการอบอุ่นร่างกาย
มีมากมายหลายท่า แต่จะขอแนะนำท่าในการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยแยกเป็นท่ายืน ท่านั่งและท่านอน
จาก การที่ได้ปฏิบัติตนในการอบอุ่นร่างกาย ทั้งก่อนและหลังการแข่งขันเป็นประจำทุกครั้ง หรือแม้แต่การฝึกซ้อมประจำวันก็ตาม ย่อมเป็นผลดีต่อร่างกายมากมายนัก เพราะนั่นหมายถึงผลงานที่จะตามมา และการฝึกยืดหรือเหยียดกล้ามเนื้อนั้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตในกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดความอบอุ่น พลังความร้อนจากกล้ามเนื้อ
จะ ช่วยให้เกิดอาการยืดหยุ่นในตัวของกล้ามเนื้ออีกทีหนึ่ง ผลจากการทำงานของกล้ามเนื้อลักษณะ นี้จะทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นตัวสูงขึ้น มีความคล่องแคล่วในตัว และการทำงานของระบบข้อต่อ จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการเกิดการบาดเจ็บจากการแข่งขันหรือฝึกซ้อม ได้เป็นอย่างดี




ประโยชน์ของการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
        การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าการออกกำลังกาย
เป็นยาขนานวิเศษ ดังคำกล่าวที่ว่า"กีฬา กีฬา เป็นยาพิเศษ"วอลเลย์บอลเป็นกีฬา
ที่ทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้
๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่น
วอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้ม
กับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วม
การแข่งขันได้เป็นอย่างดี
  ๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีม
มีความสัมพันธ์และรักใคร่ ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาด
ความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬา
ประเภทนี้จึงสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกัน
ระหว่างหมู่คณะมากยิ่งขึ้น
๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา
อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย
อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดี สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น
๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม
รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน
มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่น ผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขัน
ก็จะแพ้ ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่น
วอลเลย์บอล ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเอง
และสังคมอีกด้วย
๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้
ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม หรือกลางแจ้ง
  ๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม
ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท
กันขึ้น
 
๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่น
จะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความ
รับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการ ปลูกฝังนิสัย อันมีผล
ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย
  ๘.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น
ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น
รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น 
   ๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน
มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยัง
ช่วยให้ ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีและ
มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ ของร่างกาย
ให้มีความต้านทาน ได้ดีด้วย

     ๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็น
สื่อกลาง ก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน
ทั้งระหว่างภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้อย่างดี
  ๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อ
ในระดับสูง บางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมี
หลายหน่วยงาน รับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลัง
เป็นกีฬาที่นิยม ของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่เป็นประจำ
                                
                                                  
                                          การเสิร์ฟ
อล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่ หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)     
  ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ( Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล"(Volleyball) โดยศาสตราจารย์อัลเฟรดให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมากปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล
วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
  ปี พ . ศ . 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณพงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร . น . ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา จนกระทั่งปี พ . ศ . 2500 ได้มีการจัดตั้ง " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี


ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล
1.เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวอลเลย์บอล
2.มีความสามารถเบื่องต้นเกี่ยวกับวอลเลย์บอล
3.มีความสามารถในการเล่นทีม
4.มีความรู้ความเข้าใจในกติกา
5.ส่งเสริมการพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสังคม
6.ส่งเสริมมีการช่วยเหลือ
7.ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจเป็นนัก กีฬา
8.ก่อให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน
9.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                                                    
          



การบำรุงรักษาอุปกรณ์กีฬาวอลเลย์บอล


          อุปกรณ์การเล่นวอลเลย์บอลควรได้รับการดูแลและเก็บรักษาให้ดี เพื่อให้มี
ประสิทธิภาพในการใช้งานให้ นานที่สุด เพื่อความประหยัดและเป็นการปลูกฝัง
ให้ผู้เล่นเกิดนิสัยรักความมีระเบียบ โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
๑. มีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะ และควรเก็บแยกประเภทให้เรียบร้อยเพื่อ
     สะดวกในการนำมาใช้
๒. อุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่ายขาดให้รีบซ่อมแซมทันที การปล่อย
     ทิ้งไว้จะทำให้ เสียหาย มากขึ้น
๓. อย่าขึงตาข่ายไว้กลางแจ้งให้ถูกแดดฝนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ตาข่าย
     ชำรุดเสียหายอายุการใช้งาน ไม่นานเท่าที่ควร
๔. อย่าให้ลูกวอลเลย์บอลที่ทำด้วยหนังถูกน้ำนาน ๆ เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก
     ให้มากขึ้น ควรใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทันทีก่อนที่จะนำลูกบอลมาเล่นต่อไป
๕. ทำความสะอาดลูกบอลทุกครั้งด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ด ก่อนที่จะนำไปเก็บ
๖.  การสูบลมหรือปล่อยลมออกจากลูกบอลควรใช้เข็มที่ใช้กับลูกวอลเลย์บอลโดยเฉพาะ
     ถ้าใช้ของแหลมชนิดอื่นจะทำให้ลูกวอลเลย์บอลชำรุดได้ง่าย
๗. หมั่นเช็ด กวาด ถู พื้นสนามเล่นให้สะอาดอยู่เสมอ
๘. อย่าสูบลมให้ลูกวอลเลย์บอลแข็งจนเกินไป จะทำให้หนังของลูกวอลเลย์บอลปริ
     มีอายุ การใช้งานน้อย
๙. หลังจากเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเสร็จแล้วต้องผ่อนตาข่ายที่ขึงตึง ให้หย่อนลง







ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา

        ลักษณะของความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาคือ จะแพ้ หรือชนะไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือ
ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน และได้ทำการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ เชื่อฟังผู้ตัดสิน
ไม่ฝ่าฝืนกฏกติกาของการเล่น รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ฯลฯ ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อแสดง
ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา คือ
๑. ปฏิบัติตามกฏกติกาของการเล่น
๒. ซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน และเพื่อนฝูง
๓. เป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่ให้โมโหโทโส
๔. เป็นผู้ที่รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ
๕. หากปราชัยก็ทำใจให้หนักแน่น
๖. หากมีชัยก็ไม่แสดงความภูมิใจจนออกนอกหน้า
๗. เป็นผู้ที่ผุดผ่องทั้งกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ
๘. เล่นกีฬาเพื่อชั้นเชิงของการกีฬา ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อจะทะเลาะวิวาทกัน
๙. เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผือแผ่
๑๐.เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
๑๑.เป็นผู้มีใจคอกว้างขวาง
๑๒.เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ
๑๓.เป็นผู้มีความเชื่อฟังและเคารพต่อเหตุผล
๑๔.เป็นผู้รักษาความยุติธรรม
๑๕.เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
 
       ขั้นตอนการสอนทักษะการสกัดกั้น

ขั้นตอนที่ 1 ท่าทางพื้นฐาน
ผู้เล่นแดนหน้าจะต้องเตรียมพร้อมหน้าตาข่ายเพื่อสกัดกั้นการรุก เมื่อทีมเป็นฝ่ายเสริฟ
ขั้นตอนที่ 2 เคลื่อนที่ไปด้านหน้าเพื่อสกัดกั้น
เมื่อผู้เล่นฝึกท่าทางพื้นฐานจนชำนาญแล้ว ให้ผู้ฝึกสอนแนะนำการเคลื่อนที่ไปด้านหน้าเพื่อสกัดกั้น

จุดสำคัญในการสอน :  สังเกตทิศทางการก้าวเท้าใน 2 จังหวะสุดท้ายก่อนกระโดดตบของตัวตบ เพื่อคาดคะเนทิศทางการตบบอล
ขั้นตอนที่ 3 ก้าวเท้าด้านข้างสกัดกั้น



จุดสำคัญในการสอน :  ย่อตัวเล็กน้อยขณะเคลื่อนที่ไปด้านข้างเพื่อสกัดกั้น ในจังหวะก้าวสุดท้ายให้หยุดก่อนกระโดดสกัดกั้น
ขั้นตอนที่ 4 เคลื่อนที่ด้านข้างอย่างรวดเร็วเพื่อสกัดกั้น
เมื่อต้วเซตของคู่ต่อสู้เซตบอลให้ตัวตบหัวเสาเร็ว (บอล Y) ผู้เล่นต้องหมุนตัวเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเพื่อไปสกัดกั้น


จุดสำคัญในการสอน :  ในจังหวะก้าวสุดท้ายให้หยุดก่อนกระโดดสกัดกั้น
ขั้นตอนที่ 5 เคลื่อนที่ด้านข้างด้วยวิธีก้าวเท้าไขว้เพื่อสกัดกั้น


จุดสำคัญในการสอน :  ใช้การก้าวเท้าไขว้ โดยหันหน้าเข้าหาตาข่าย
ขั้นตอนที่ 6 เคลื่อนที่ทแยงจากเส้นรุกไปสกัดกั้นหน้าตาข่าย



จุดสำคัญในการสอน :  ในจังหวะก้าวสุดท้ายให้หยุดก่อนกระโดดสกัดกั้น
ขั้นตอนที่ 7 ท่าทางหลังสกัดกั้น
เมื่อลูกบอลผ่านมือตัวสกัดกั้นไปแล้วผู้สกัดกั้นควรหมุนตัวกลับเพื่อเล่นบอลลูกต่อไป


ขั้นตอนที่ 8 การสกัดกั้นตัวต่อตัว man-to-man
วิธีฝึก ให้ผู้เล่นตัวตบโยนบอลเหนือตาข่ายแล้วกระโดดตบ โดยให้ผู้สกัดกั้นดูทิศทางและจังหวะแล้วทำการสกัดกั้น


ขั้นตอนที่ 9 การสกัดกั้นด้วยผู้เล่น 2 คน
ตัว สกัดกั้นที่ใกล้กับตัวรุกฝ่ายตรงข้าม (ผู้สกัดกั้นด้านนอก) ควรจะคาดคะเนทิศทางการตบ โดยดูจากความสามารถของตัวตบ ลักษณะที่ตัวตบตัวนั้นตบเป็นประจำ และทิศทางการเคลื่อนที่เข้าตบบอล
หาก ลูกบอลผ่านระหว่างกลางผู้สกัดกั้นทั้ง 2 หมายความว่าผู้สกัดกั้นด้านในทำผิดพลาด คือไม่เคลื่อนที่สกัดกั้นให้ชิดกับผู้สกัดกั้นด้านนอก ส่วนหากลูกบอลผ่านด้านนอกของผู้สกัดกั้นทั้ง 2 หมายความว่าเป็นความรับผิดชอบของตัวสกัดกั้นด้านนอกที่คาดคะเนผิด


ขั้นตอนที่ 10 การป้องกันการตบบอลสัมผัสแนวสกัดกั้น
 ผู้ ฝึกสอนขว้างลูกบอลไปใกล้เสาอากาศ ให้ผู้สกัดกั้นเคลื่อนที่สกัดกั้นโดยเหวี่ยงแขนทั้งคู่เข้าด้านในสนามเพื่อ ป้องกันลูกบอลสัมผัสแขนออกนอกสนาม


                                        กติกา 
  
กติกาวอลเลย์บอล     กลับหน้าหลัก www.kruchai.net
ข้อที่ 1 พื้นที่เล่นลูก





1.1 ขนาดของสนาม (Dimension)
      สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 x 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3 เมตร
ทุกด้านที่ว่างสำหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มี สิ่งใดกีดขวาง สูงขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 7 เมตร จากพื้นสนาม สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5 เมตร จากเส้นข้าง 8 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจาก
พื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร

1.2 พื้นผิวสนาม (PLAYING SURFACE)
1.2.1 พื้นผิวสนามต้องเรียบ เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาต
ิและการแข่งขันอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นผิวสนามที่เป็นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น พื้นผิวสนาม
อื่นใด ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลก่อนทั้งสิ้น
1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีสว่างสำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล นานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพื้นสนามแข่งขันและบริเวณเขตรอบสนามต้องเป็นสีแตกต่างกันออกไป
1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายน้ำ ห้ามใช้ของแข็งทำเส้นสนาม

1.3 เส้นบนพื้นสนาม (LINES ON THE COURT)
1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนามและเส้นอื่น ๆ
1.3.2 เส้นเขตสนาม เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้น เป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขัน เส้นทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายในเขตของสนามแข่งขัน
1.3.3 เส้นแบ่งแดน กึ่งกลางเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ขนาด 9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้างอีกดานหนึ่งใต้ตาข่าย
1.3.4 เส้นรุก แต่ละแดนของสนามจะมีเส้นรุกซึ่งริมสุดด้านนอกของเส้นจะขีดห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน 3 เมตร เป็นเครื่องหมายของเขตรุก สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นรุกจะถูกขีดต่อออกไปจากเส้นข้างทั้ง 2 เส้น เป็นเส้นประ กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร 5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้นไว้ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมยาวข้างละ 1.75 เมตร

1.4 เขตและพื้นที่ต่าง ๆ (Zone And Areas)
1.4.1 เขตรุก เขตรุกของแต่ละแดนจะถูกกำหนดจากึ่งกลางของเส้นแบ่งเขตแดน ไปจนถึงริมสุดด้านนอกของเส้นรุก
เขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวจากเส้นทั้งสองไปจนถึงริมสุดของเขตรอบสนาม
1.4.2 เขตเสิร์ฟ เขตเสิร์ฟมีพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไป
เส้นขนานสั้น ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร เป็นเส้นกำหนดเขตเสิร์ฟ เส้นทั้งสองนี้จะตีห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร เหมือนกับแนวต่อจากเส้นข้าง และรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วย
ในแนวลึก เขตเสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม
1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว คือ เขตที่อยู่ภายในแนวของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึกการแข่งขัน
1.4.4 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ พื้นที่อบอุ่นร่างกายขนาด 3 x 3 เมตร จะอยู่ที่นอกเขตรอบสนามตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นสำรอง
1.4.5 พื้นที่ทำโทษ พื้นที่ทำโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัวอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONTROL AREA) แต่อยู่เลยแนวของเส้นหลังและมีเส้นแดงกว้าง 5 เซนติเมตร กำหนดพื้นที่

1.5 อุณหภูมิ (TEMPERATURE)
อุณหภูมิต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แสงสว่างบนพื้นที่เล่นลูกต้องมีความสว่าง 1,000 – 1,500 ลักซ์ โดยวัดที่ระดับความสูงจากพื้นสนาม 1 เมตร




                   
แผนผังสนามแข่งขัน ตำแหน่งของคณะกรรมการตัดสินและเจ้าหน้าที่






๑. ผู้ตัดสินที่ ๑
๒. ผู้ตัดสินที่ ๒
๓. โต๊ะผู้บันทึก ผู้จับเวลา ผู้กดป้ายคะแนน
๔. โต๊ะที่นั่งสำหรับผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ฯลฯ
๕. ผู้กำกับเส้น
๖. ผู้เก็บบอล
๗. เขตอบอุ่นร่างกายของผู้เล่นสำรอ





 
กติกาข้อที่ 2 ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย (NET AND POSTS)

2.1 ความสูงของตาข่าย (HEIGHT OF THE NET)
2.1.1 ตาข่าย ขึงเป็นแนวตั้งเหนือเส้นเบ่งแดน สำหรับทีมชาย ขอบบนสุดต้องสูงจากพื้นที่ 2.43 เมตร ทีมหญิง 2.24
เมตร
2.1.2 ความสูงของตาข่าย วัดที่กึ่งกลางของสนามความสูงของตาข่าย (เหนือเส้นทั้งสอง) ต้องสูงเท่ากัน
แต่จะสูงเกินกว่าความสูงที่กำหนด 2 เซนติเมตรไม่ได้

2.2 โครงสร้าง (STRUCTURE)
ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50 ถึง 10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่ 25 ถึง 50 เซนติเมตร จากแถบข้างแต่ละด้าน) ทำด้วยวัสดุสีดำ เป็นตาสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 10 เซนติเมตร ที่ขอบบนของตาข่าย
มีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาว กว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้าง
เจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึง ตาข่ายดึงให้แถบบนสุดของตาข่ายตึง ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่น
ได้สำหรับผูกกับเสา เพื่อทำให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึง ที่ตาข่ายด้านล่างมีแถบขนานกับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตร
ภายในแถบมีสายที่หยืดหยุ่นได้สำหรับผูกกับเสาเพื่อให้ส่วนล่างของตาข่ายตึง

2.3 แถบข้าง (SIDE BANDS)
แถบสีขาว 2 เส้น ผูกในแนวตั้งกับตาข่ายเหนือทั้ง 2 เส้น แถบข้างกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย

2.4 เสาอากาศ (ANTENNAE)
เสาอากาศเป็นแท่งกลมยืดหยุ่นได้ ยาว 1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทำด้วยใยแก้วหรือวัสดุที่คล้ายคลึง
กันเสาอากาศแต่ละต้นถูกยึดติดอยู่ที่ริมด้านนอกของแถบข้างทั้งสอง แต่อยู่คนละด้านของตาข่าย ส่วนบนสุดของเสา
อากาศ ถือเป็นสีสลับกันเป็นช่วง ๆ ยาวช่องละ 10 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วนิยมใช้สีแดงและขาว เสาอากาศถือเป็น
ส่วนหนึ่ง ของตาข่าย เป็นแนวขนานที่กำหนดพื้นที่ข้ามตาข่าย

2.5 เสาขึงตาข่าย (POSTS)
2.5.1 เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 0.50 – 1.00 เมตร มีความสูง 2.55 เมตร สามารถปรับ
ระดับได้ สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เสาขึง
ตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร เว้นแต่ว่า ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
2.5.2 เสาขึงตาข่ายมีลักษณะกลมและเรียบ ยึดติดกับพื้นโดยไม่มีสายยึดเสาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย
และไม่เป็นสิ่งกีดขวางใด ๆ

2.6 อุปกรณ์อื่น ๆ (ADDITIONAL EQUIPMENT)
อุปกรณ์อื่นใดให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามระเบียบของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

  กติกาข้อที่ 3 ลูกบอล (BALLS)

3.1 มาตรฐาน (STANDARD)
ลูกบอลต้องกลม ทำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอลทรงกลมที่ทำด้วยยาง หรือวัสดุ
ที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อน ๆ เหมือนกันทั้งลูก หรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ ลูกบอลซึ่งทำด้วย
วัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐาน
ตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติกำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 260 – 280 กรัม

3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS)
ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง น้ำหนัก แรงอัด ชนิดและสีตามาตรฐานเดียวกัน การแข่งขันระดับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้อง
ใช้ลูกบอลที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

3.3 ระบบการใช้ลู
กบอล 3 ลูก (THREE – BALL SYSTEM)
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งบอล 6 คน ประจำที่มุมของเขตรอบสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และข้างหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน


 บทที่ 2ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน(PARTICIPANTS)
กติกาข้อที่ 4 ทีม (TEAMS)

4.1 ส่วนประกอบของทีม (TEAM COMPOSITION)
4.1.1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1คน และแพทย์ 1 คน
สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ต้องขึ้นทะเบียน
กับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อนการแข่งขัน
4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ (LIBERO PLAYER) ต้องเป็นหัวหน้าทีมและจะระบุไว้ในใบบันทึกการแข่งขัน
4.1.3 ผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในใบบันบันทึกการแข่งขันเท่านั้นจึงจะลงสนามและร่วมการแข่งขันได้ เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นอีกไม่ได้

4.2 ตำแหน่งที่อยู่ของทีม (LOCATION OF THE TEAM)
4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งม้านั่งหรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่น
ต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งเป็นครั้งคราว ม้านั่งของทีมตั้งอยู่ข้าง ๆ โต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม
4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งม้านั่งระหว่างการแข่งขันและร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน
4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช่ลุกบอลได้ดังนี้
4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขันในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย
4.2.3.2 ระหว่างขอเวลานอกและเวลาเทคนิคในเขตรอบสนามด้านหลังแดนของทีมตนเอง
4.2.4 ช่วงพักระหว่างเชต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอลได้ในเขตรอบสนามของทีมตนเอง

4.3 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT)
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอยด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน) และรองเท้า
4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และถุงเท้าต้อง เหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ LIBERO PLAYER) และสะอาด
4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือหนังไม่มีส้น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการในรุ่นที่ไม่กำจัดอายุสีรองเท้าต้องเป็นสีเดียวกันทั้งทีม แต่เครื่องหมาย
การค้าอาจมีสีแตกต่างกันได้ เสื้อและกางเกงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีเครื่องหมาย 1 – 18
4.3.3.1 ต้องติดเครื่องที่กลางอกและกลางหลังสีของเครื่องหมายเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลังอย่างน้อยที่สุด 20 เซนติเมตร และความกว้างของแถบที่ทำหมายเลข ต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 1 เซนติเมตร
4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบยาว 8 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขตรงอกเสื้อ
4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้อง หรือชุที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น

4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (CHANGE OF EQUIPMENT)
ผู้ตัดสินคนที่ 1 มีอำนาจที่จะให้ผู้เล่น 1 คน หรือมากกว่า
4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่สวมรองเท้าก็ได้
4.4.2 เปลี่ยนชุดที่เปียกช่วงพักระหว่างเชต หรือหลังจากการเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนับชุดเดิม
4.4.3 สวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้ ถ้าอากาศหนาว ถ้าสีและแบบของชุควอร์ม
เหมือนกันทั้งทีม และหมายเลขต้องเป็นไปตามปกติ
4.5 สิ่งที่ห้ามสวมใส่ (FORBIDDEN OBJECTS)
4.5.1 ห้ามสวมใส่สิ่งของซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น
4.5.2 ผู้เล่นอาจสวมแว่นตาหรือคอนเทคเลนซ์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง

  กติกาข้อที่ 5 ผู้นำของทีม (TEAM LEADER)

ทั้งหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอนเป็นผผู้รับผิดชอบความประพฤติและระเบียบวินัยของผู้ร่วมทีม
ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีมไม่ได้
5.1 หัวหน้าทีม (CAPTAIN)
5.1.1 ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าทีมเป็นผู้ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันและเป็นผู้แทนของทีมในการเสี่ยง
5.1.2 ระหว่างการแข่งขันและขณะอยู่ในสนามแข่งขันหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ผู้นำในการแข่งขัน เมื่อหัวหน้าทีมไม่ได้เล่นอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมต้องแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งที่อยู่ในสนาม แต่ต้องไม่ไช่
ตัวรับอิสระ ทำหน้าที่หัวหน้าทีมในการแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และต้องรับผิดชอบไปจนกว่าหัวหน้าทีม
(TEAM CAPTAIN) จะเปลี่ยนตัวมาลงเล่นอีกหรือจนกว่าจะสิ้นสุดเซตนั้นเมื่อลูกตาย หัวหน้าทีมในการแข่งขันเท่านั้น
ที่มีสิทธิเป็นผู้แทนของผู้เล่นทั้งหมดพูดกับผู้ตัดสิน เพื่อ
5.1.2.1 ขอคำอธิบายในการตีความกติกาหรือนำกติกามาใช้และร้องขอหรือถามคำถามของเพื่อนร่วมทีม ถ้าคำอธิบาย
ไม่เป็นที่พอใจ หัวหน้าในการแข่งขันต้องประท้องการตัดสินนั้นและสงวนสิทธิบันทึกการประท้องอย่างเป็นทางการ
ในใบบันทึกการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันจบสิ้นลง
5.1.2.2 ขอสิทธิ
ก. เปลี่ยนชุดหรืออุปกรณ์การแข่งขันบางส่วนหรือทั้งหมด
ข. ตรวจตำแหน่งผู้เล่นของทีม
ค. ตรวจพื้นสนาม ตาข่าย และลูกบอล
5.1.2.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.1.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันหัวหน้าทีมต้อง
5.1.3.1 แสดงความขอบคุณผู้ตัดสินและลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันการประท้องอย่างเป็นทางการต่อผู้ตัดสิน เกี่ยวกับการนำกติกาใช้หรือตีความกติกาลงในใบบันทึกการแข่งขัน

5.2 ผู้ฝึกสอน (COACH)
5.2.1 ตลอดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ควบคุมการเล่นของทีมภายในสนามแข่งขัน เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนทำหน้าที่ดังกล่าวได้โดยขอผ่านทางผู้ตัดสินที่ 2
5.2.2 ก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้องบันทึกหรือตรวจสอบรายชื่อและหมายเลขของผู้เล่นในใบบันทึกการแข่งขัน
5.2.3 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้อง
5.2.3.1 ยืนใบส่งตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงชื่อแล้ว ให้ผู้ตัดสินหรือผู้บันทึกก่อนการแข่งขันทุกเซต
5.2.3.2 นั่งม้านั่งของทีมซึ่งใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุดแต่อาจลูกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว
5.2.3.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.2.3.4 ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้ร่วมทีมอื่น ๆ อาจให้คำแนะนำผู้เล่นในสนามได้ โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำผู้เล่นใน
สนามได้โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำขณะที่ยืนหรือเดินภายในเขตเล่นลูก (FREE ZONE) ด้านหน้าของม้านั่ง
ผู้เล่นสำรองตั้งแต่แนวที่ยื่นออกมาของเส้นรุกจนถึงพื้นที่อบอุ่นร่างกายแต่ต้องไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน

5.3 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (ASSISTANT COACH)
5.3.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะหยุดการแข่งขัน
5.3.2 ถ้าผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอาจทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแทนได้ โดยการขออนุญาตของหัวหน้าทีมในขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินที่ 1

กติกาข้อที่ 6 การได้คะแนน การชนะในแต่ละเชต และการชนะแต่ละนัด
(TO SCORE A POINT,TOWIN A SET AND THE MATCH)

6.1 การได้คะแนน (TO SCORE A POINT)
6.1.1 คะแนน ทีมได้คะแนนเมื่อ
6.1.1.1 ทำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม
6.1.1.2 ทีมตรงข้ามทำผิดกติกา
6.1.1.3 ทีมตรงข้ามถูกลงโทษ
6.1.2 การทำผิดกติกา ทีมทำผิดกติกาเมื่อลักษณะของการเล่นตรงข้ามกับกติกาการแข่งขัน
(หรือขัดแย้งกับกติกาโดยวิธีอื่นใด) ผู้ตัดสินจะตัดสินการการกระทำผิดและตัดสินใจดำเนินการตามกติกา ดังนี้
6.1.2.1 ถ้ามีการเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จะลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น
6.1.2.2 ถ้าทั้งสองทีมเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าพร้อม ๆ กันทั้งสองทีม จะถือว่าเป็นการกระทำผิดทั้งคู่ และจะเล่นลูกนั้นใหม่
6.1.3 ผลที่ตามมาเมื่อชนะการเล่นลูก การเล่นลูกเป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ จนกระทั้งลูกตาย 6.1.3.1 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ
6.1.3.2 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟในครั้งต่อไป

6.2 การชนะในแต่ละเซต (TO WIN A SET)
ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุก 2 คะแนน จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น ถ้าทำได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน

6.3 การชนะการแข่งขันแต่ละนัด (TO WIN THE MATCH)
6.3.1 ทีมที่ทำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น
6.3.2 ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อย 2 คะแนน

6.4 ทีมที่ผิดระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (DEFAULT AND INCOMPLETE TEAM)
6.4.1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้งว่าทำผิดระเบียบการแข่งขัน และปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0 – 3 เซต คะแนน 0 – 25 ในแต่ละเซต
6.4.2 ทีมที่ไม่ปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.1
6.4.3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่งหรือการแข่งขันเซตใดเซตหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนและเซตเพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการแข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนนและเชตที่ทำไว้

  กติกาข้อที่ 7 โครงสร้างของการแข่งขัน (STRUCTURE OF PLAY)

7.1 การเสี่ยง (TOSS)
ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะทำการเสิร์ฟก่อนหรืออยู่แดนใด ในเซตที่ 1
ถ้าต้องการแข่งขันเซตตัดสินจะต้องทำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
7.1.1 การเสี่ยงต้องทำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย
7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะสิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
7.1.2.1 เลือกเสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟ
7.1.2.2 เลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ
7.1.3 ในกรณีที่ทำการอบอุ่นร่างกายมาพร้อมกัน ทีมที่ทำกาเสิร์ฟก่อนจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน

7.2 การอบอุ่นร่างกาย (WARM-UP SESSION)
7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุ่นร่างกายที่จัดไว้ให้แล้ว แต่ละทีมจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายได้ทีมละ 5 นาที
7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมทั้งสองตกลงทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันจะอบอุ่นร่างกายได้ 6 นาที หรือ 10 นาที

7.3 ตำแหน่งการเริ่มต้นของทีม (TEAM STARTING LINE-UP)
7.3.1 ทีมต้อมีผู้เล่น 6 คนเสมอ ในการแข่งขันตำแหน่งเริ่มต้นของทีม แสดงถึงลำดับการหมุนตำแหน่งของผู้เล่นในสนามลำดับนี้ตะคงอยู่ตลอดเวลานั้น
7.3.2 ก่อนการเริ่มแข่งขันแต่ละเซตผู้ฝึกสอนต้องแจ้งตำแหน่งเริ่มต้นเล่นทีมของตนเองในใบส่งตำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อกำกับแล้ว ส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขัน
7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของทีม จะเป็นผู้เล่นสำรองในเซตนั้น
7.3.4 เมื่อใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นเล่น ถูกนำส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขันแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งตำแหน่งอีก นอกจากต้องการทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติ
7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งตำแหน่งกับตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
7.3.5.1 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งโดยไม่มีการลงโทษ
7.3.5.2 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นเปลี่ยนที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบส่งตำแหน่ง ยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องของเปลี่ยนตัวตามปกติและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน

7.4 ตำแหน่ง (POSITIONS)
ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเองตามลำดับการหมุมตำแหน่ง
7.4.1 ตำแหน่งของผู้เล่นจำแนกได้ดังนี้
7.4.1.1 ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน ที่อยู่ใกล้ตาข่ายเป็นผู้เล่นแถวหน้าอยู่ในตำแหน่งที่ 4 ตำแหน่งที่ 3 และตำแหน่งที่ 2
7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผู้เล่นแถวหลังอยู่ในตำแหน่งที่ 5 ตำแหน่งที่ 6 ตำแหน่งที่ 1
ตำแหน่งของผู้เล่นจะถือตำแหน่งของเท้าที่แตะพื้น เป็นเครื่องหมายกำหนด                                                                 

ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้เล่น




  
     หมายเลข ๑ ตำแหน่ง หลังขวา มีหน้าที่เสิร์ฟและรับลูกบอลป้อนไปยังแดนหน้า
     หมายเลข ๒ ตำแหน่ง หน้าขวา มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย
     หมายเลข ๓ ตำแหน่ง หน้ากลาง มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย
     หมายเลข ๔ ตำแหน่ง หน้าซ้าย มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย
     หมายเลข ๕ ตำแหน่ง หลังซ้าย มีหน้าที่รับและป้อนลูกบอลไปยังแดนหน้า
     หมายเลข ๖ ตำแหน่ง กลางหลัง มีหน้าที่รับและป้อนลูกบอลไปยังแดนหน้า






                      


1 ความคิดเห็น: